ด้านต่าง ๆ ของ ตัวแบบนอร์ดิก

นโยบายตลาดแรงงาน

ประเทศนอร์ดิกมีนโยบายตลาดแรงงานที่รัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจแบบบรรษัทนิยม ที่หมายลดความขัดแย้งกันระหว่างแรงงานและผลประโยชน์ของนายทุนเป็นระบบที่ใช้อย่างกว้างขวางที่สุดในสวีเดนและนอร์เวย์ ที่สมาพันธ์ของผู้ว่าจ้างและตัวแทนของแรงงานต่อรองกันในระดับชาติโดยมีรัฐบาลเป็นผู้ไกล่เกลี่ยส่วนการแทรกแซงของรัฐในตลาดแรงงานมีจุดหมายเพื่อฝึกงานและย้ายที่อยู่ (เมื่อตกงาน) ใหม่[25]

ตลาดแรงงานของกลุ่มนอร์ดิกยืดหยุ่นได้ เพราะกฎหมายทำให้ว่าจ้างหรือไล่คนงานออก และใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดแรงงานแบบใหม่ ๆ ได้ง่ายแต่เพื่อลดผลลบต่อคนงาน รัฐบาลจึงให้สวัสดิการทางสังคมที่สูง การฝึกงานใหม่ และการย้ายที่อยู่เพื่อจำกัดความขัดแย้งระหว่างนายทุนกับแรงงานที่อาจเกิดเนื่องจากกระบวนการนี้[5]

ระบบเศรษฐกิจ

ระบบนอร์ดิกรองรับด้วยระบบเศรษฐกิจทุนนิยมตลาดเสรีที่มีระดับทรัพย์สินส่วนบุคคลสูง[5]โดยยกเว้นนอร์เวย์ ซึ่งมีธุรกิจและบริษัทมหาชนที่รัฐมีส่วนเป็นเจ้าของเป็นจำนวนมาก[26]

ตัวแบบนอร์ดิกเป็นระบบทุนนิยมที่มีการแข่งขันสูง ร่วมกับการมีอัตราประชากรสูงที่เป็นข้าราชการ (คร่าว ๆ ที่ 30%)[27]ในปี 2556 นิตยสารรายสัปดาห์ The Economist เรียกประเทศนอร์ดิกว่าเป็น "นักการค้าเสรีล่ำ ๆ ผู้สามารถอดกลั้นต่อแรงล่อใจที่จะแทรกแซง (ทางเศรษฐกิจ) แม้เพื่อป้องกันบริษัทที่เป็นสัญลักษณ์ (ของประเทศ)" ในขณะที่สืบหาวิธีลดผลร้ายของระบบทุนนิยม โดยนิตยสารประกาศด้วยว่า ประเทศนอร์ดิก "น่าจะเป็นประเทศปกครองได้ดีที่สุดในโลก"[27][28]นักเศรษฐศาสตร์บางท่านเรียกระบบเศรษฐกิจแบบนอร์ดิกว่าเป็น ทุนนิยมแบบ "น่ารัก" เพราะมีระดับความไม่เท่าเทียมกันต่ำ มีสวัสดิการทางสังคมสูง และลดการรวบความมั่งมีแล้วเทียบกับระบบทุนนิยมแบบ "เชือดคอ" ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความไม่เท่าเทียมกันสูงและมีความมั่งมีแบบรวบยอด[11][29][30]

แต่เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลสวีเดนก็เริ่มปฏิรูปนโยบายเป็นแบบเสรีนิยมใหม่ (neoliberal)[31][32]ซึ่งลดบทบาทของรัฐบาล และเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันอย่างรวดเร็วที่สุดในบรรดาเศรษฐกิจของ OECD[33]อย่างไรก็ดี ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ในสวีเดนก็ยังน้อยกว่าประเทศโดยมาก[34]

ระบบสวัสดิการแบบนอร์ดิก

ระบบสวัสดิการของประเทศนอร์ดิกผูกอยู่กับนโยบายตลาดแรงงานและต่างจากรัฐสวัสดิการอื่น ๆ เพราะเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ใช้แรงงานอย่างสูงสุด เน้นโปรโหมตความเท่าเทียมกันทางเพศ ระดับสวัสดิการที่เท่าเทียมกันและมาก การปรับกระจายรายได้ขนาดมหาศาล และงบประมาณของรัฐที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[35]

แม้ประเทศนอร์ดิกจะแตกต่างกันแต่ก็ผูกพันอยู่กับความเป็นหนึ่งเดียวกันทางสังคม การมีสวัสดิการทั่วไปเพื่อพิทักษ์อิสรภาพส่วนบุคคลโดยทำการป้องกันบุคคลและกลุ่มที่กำลังอ่อนแอในสังคม และให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดในนโยบายทางสังคมโดยมีลักษณะเฉพาะคือยืดหยุ่นได้และยอมรับสิ่งใหม่ ๆ ในสวัสดิการทางสังคมได้ระบบสวัสดิการโดยหลักได้งบประมาณมาจากภาษี[36]

แม้จะมีค่านิยมที่เหมือนกัน ประเทศก็ใช้วิธีการต่าง ๆ กันเพื่อบริหารจัดการรัฐสวัสดิการเดนมาร์กให้เอกชนมีส่วนร่วมสูงในการบริหารจัดการและการบริการ และมีนโยบายผสมกลมกลืนผู้ย้ายถิ่นเข้าประเทศสวัสดิการของไอซ์แลนด์ออกแบบเพื่อกระตุ้นให้ผู้ว่างงานกลับไปทำงานในขณะที่ระบบของฟินแลนด์ให้องค์กรเอกชนมีส่วนร่วมดูแลผู้สูงอายุส่วนระบบสวัสดิการของนอร์เวย์เป็นหน้าที่ของรัฐโดยมาก[36]

การลดความยากจน

รูปแบบนอร์ดิกประสบผลสำเร็จอย่างสำคัญในการลดความยากจน[37]ในปี 2554 อัตราคนยากจน ก่อนนับผลของภาษีและการกระจายรายได้ อยู่ที่ 24.7% ในเดนมาร์ก 31.9% ในฟินแลนด์ 21.6% ในไอซ์แลนด์ 25.6% ในนอร์เวย์ และ 26.5% ในสวีเดนหลังจากนับผลของภาษีและการกระจายรายได้ อัตราความยากจนลดลงเหลือ 6%, 7.5%, 5.7%, 7.7%, และ 9.7% ตามลำดับ โดยเฉลี่ยลดตามเปอร์เซ็นต์ที่ 18.7 แต้ม[38]เทียบกับของสหรัฐอเมริกา ที่มีอัตราความยากจนก่อนนับผลของภาษีที่ 28.3% และหลังภาษีที่ 17.4% คือลดเพียงแค่ 10.9 แต้ม ดังนั้นภาษีและการกระจายรายได้จึงมีผลมากกว่าต่อความยากจนในประเทศนอร์ดิก[38]ถึงกระนั้น ก็ยังน้อยกว่าถ้าเทียบกับฝรั่งเศส (ลด 27 แต้ม) และเยอรมนี (ลด 24.2 แต้ม) แม้อัตราภาษีและการกระจายรายได้ในประเทศนอร์ดิกก็ต่ำกว่าโดยเฉลี่ยด้วย[38]

ปัจจัยทางศาสนา

ประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวียมีศาสนาคริสต์นิกายลูเทอแรนเป็นศาสนาหลักของประเทศซึ่งนักวิชาการอ้างว่า โปรโหมตความเป็นชุมชนในระดับชาติและการมีส่วนร่วมของรัฐในเศรษฐกิจและสังคมทำให้มีความเป็นปึกแผ่นในเรื่องรัฐสวัสดิการและการประสานงานทางเศรษฐกิจ

ประเทศที่ได้อิทธิพลจากแนวคิดแบบอนุรักษนิยมมากกว่า (เช่น เยอรมนี อิตาลี) จะดำเนินการตามแนวคิดแบบโรมันคาทอลิกมากกว่าซึ่งสนับสนุนว่า ระเบียบทางสังคมไม่ควรเข้าไปยุ่ง ไม่ว่าจะผ่านทางเศรษฐกิจหรือรัฐบาลและยึดหลักความเป็นรอง (subsidiarity) ของรัฐบาลกลาง คือโปรโหมตให้ร่วมมือกันภายในกลุ่มสังคมของตนโดยรัฐจะมีส่วนร่วมเฉพาะในเรื่องที่ทำไม่ได้ดังนั้น ประเทศเหล่านี้จึงโปรโหมตรัฐสวัสดิการแบบอนุรักษนิยม และระบบการผลิตที่ประสานงานภายในกลุ่ม

ส่วนประเทศที่พูดอังกฤษ (ยกเว้นไอร์แลนด์) มักจะเป็นนิกายคาลวินโดยมาก หรือนิกายโปรเตสแตนต์ที่คล้าย ๆ กันซึ่งมักโปรโหมตความเป็นส่วนบุคคล ๆ ซึ่งมีอิทธิพลต่อทั้งระบบสวัสดิการและอำนวยระบบการผลิตให้เป็นแบบเสรีนิยม[39]

อย่างไรก็ดี ก็มีนักข่าวที่อ้างว่า คนสแกดิเนเวียนปัจจุบันโดยมากละเลยศาสนา แม้จะไม่ได้หมายความว่าไม่เชื่อในพระเป็นเจ้า/เทพเจ้า[40]

ใกล้เคียง

ตัวแบบนอร์ดิก ตัวแบบ–มุมมอง–ตัวควบคุม ตัวแบบระดับการเคาะแป้นพิมพ์ ตัวแบบโอเพนซอร์ซ ตัวแปรกวน ตัวแปรการผลิต ตัวบั๊กส์ หัวใจไม่บั๊กส์ ตัวบ่งปริมาณสำหรับทุกตัว ตัวบ่งปริมาณสำหรับตัวมีจริง ตัวแทน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตัวแบบนอร์ดิก http://www.boston.com/news/nation/washington/artic... http://money.cnn.com/2015/06/03/news/economy/stigl... http://www.economist.com/news/leaders/21571136-pol... http://www.economist.com/news/special-report/21570... http://www.economist.com/news/special-report/21570... http://www.foreignaffairs.com/articles/140345/lane... http://www.haaretz.com/israel-news/1.721012 http://www.huffingtonpost.com/2013/09/10/happiest-... http://www.huffingtonpost.com/rep-bernie-sanders/w... http://www.investopedia.com/articles/investing/100...